วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

ฝึกประสบการณ์วันที่ 22 มีนาคม

          วันที่ 22 มีนาคม 2560 ฝึกงานฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฟังการบรรยายภาพรวมงานจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ การจัดเตรียมตัวเล่มหนังสือเพื่อออกให้บริการ โดย อาจารย์ชุติมาส บุญหนุน บรรณารักษ์ปฏิบัติการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด

งานจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ

1. ภาระหน้าที่ของหัวหน้างานจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ
          1.1 ควบคุมดูแลงานเรื่องประทับตรา ติดสัน ซ่อมหนังสือ ติดแถบแม่เหล็ก และRFID
          1.2 คำนวณงบประมาณประจำปี
          1.3 ทำบันทึกข้อความจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ
          1.4 รวบรวมและจัดทำรายงานผลการทำงาน เป็นรายเดือน
          1.5 จัดทำตารางเวรรับส่งเอกสารของฝ่าย และตารางเวรรับหนังสือบริจาค

2. การปฏิบัติงานประทับตราหนังสือ
          2.1 รับตัวเล่มที่ผ่านการจัดพิมพ์รายการบรรณานุกรมเบื้องต้นแล้ว นำหนังสือจัดขึ้นชั้น รอประทับตรา
          2.2 หัวหน้างานจัดเตรียมทรัพยากร จัดสรรปริมาณงานประทับตราให้กับพนักงานซ่อมเอกสารเท่าเทียมกัน พร้อมจดบันทึกสถิติการดำเนินงานหนังสือประทับตรา
          2.3 ดำเนินการประทับตราห้องสมุด เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ
             - ประทับตราวงกลมรูปพระพิรุณหน้าปกใน และตัวหนังสือคำว่า สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลางหน้ากระดาษ
             - ประทับตรา คำว่า สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3 ตำแหน่ง บริเวณขอบสันหนังสือด้านบน ล่าง และด้านขวา
             - สิ่งพิมพ์ มก. ประทับตรา คำว่า สิ่งพิมพ์ มก. บริเวณหน้าแรกด้านขวา และติดสติ๊กเกอร์ KU หน้าปกหนังสือด้านขวา
             - ประทับตราหน้าลับเฉาะ หน้า 15
          2.4 ติดบาร์โค้ด กึ่งกลางบนปกหลังหนังสือ แล้วปิดทับด้วยแผ่นลามิเนต
          2.5 พนักงานซ่อมเอกสาร พิจารณาการบำรุงรักษาหนังสือ โดยการเจาะเย็บหนังสือ
          2.6 ส่งดำเนินการ รอวิเคราะห์ ให้กับบรรณารักษ์งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ



3. การปฏิบัติงานประทับตราวารสาร
          3.1 หลังจากลงทะเบียนวารสารแล้ว มอบหมายแบ่งงานเพื่อทำการประทับตราวารสาร
          3.2 ดำเนินการประทับตราห้องสมุดเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ
             - ประทับตราคำว่า สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลางหน้ากระดาษด้านบนของหน้าปกใน และประทับตราวันที่
             - ประทับตรา คำว่า สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3 ตำแหน่ง บริเวณขอบสันหนังสือด้านบน ล่าง และด้านขวา
             - ประทับตราหน้าลับเฉาะ หน้า 15
          3.3 ติดบาร์โค้ดในบริเวณชิดขอบกึ่งกลางปกหลังด้านนอกของวารสาร
          3.4 ส่งคืนให้กับบรรณารักษ์งานวารสาร

4. การปฏิบัติงานซ่อมหนังสือ
          4.1 รับตัวเล่มที่ผ่านการติดใบกำหนดส่ง พิมพ์สันและติดสันหนังสือเป็นที่เรียบร้อย พิจารณาหุ้มปกหนังสือตามความเหมาะสม
          4.2 รับตัวเล่มหนังสือที่พิจารณาซ่อมจากฝ่ายบริการโดยมีกำหนดการส่งหนังสือเพื่อซ่อมบำรุงทุก 2 สัปดาห์ / ครั้ง / เดือน และมอบหมายให้พนักงานซ่อมผลัดเปลี่ยนกันตรวจสอบจำนวนและรายชื่อให้ตรงกัน พร้อมทั้งจัดสรรปริมาณหนังสือซ่อมอย่างเท่าเทียมกัน
          4.3 พิจารณาสภาพชำรุด ให้คัดแยกหนังสือที่เกิดจากการชำรุด การฉีกขาด หรือปกหลุด สันหลุด รอยฉีกขาด หน้าแหว่งทะลุเป็นรู หน้าหลุด (บางแผ่น) เข้าเล่มเข้าปกใหม่ โดยเลือกวิธีการซ่อมตามความเหมาะสม
          4.4 การซ่อมโดยวิธีทากาวสำหรับหนังสือที่ปกขาด สันหลุด รอยฉีกขาด หน้าว่างไม่มีข้อความบางแผ่นให้ถ่ายสำเนาหน้าที่หายไปแล้วเสริมหน้าให้สมบูรณ์ครบถ้วน และการซ่อมโดยวิธีเย็บแบบเจาะ ใช้ซ่อมเล่มเดิมที่ไสกาว หรือเข้าเล่มใหม่
          4.5 เมื่อซ่อมเสร็จแล้ว ก็การประทับตราและติดบาร์โค้ดหนังสือซ่อม พร้อมทั้งเขียนสัน และพิมพ์สันหนังสือซ่อม
          4.7 ติด RFID, เชื่อมโยงบาร์โค้ด (Barcode) และข้อมูล RFID เข้ากับข้อมูลของหนังสือ และเปลี่ยนสถานภาพของหนังสือในระเบียนตัวเล่ม (Item) เพื่อออกให้บริการยืม-คืน
          4.8 ทำรายชื่อหนังสือจัดส่งตัวเล่มที่พร้อมออกให้บริการให้แก่ฝ่ายบริการ

5. การปฏิบัติงานพิมพ์สันหนังสือและการติดRFID/แถบแม่เหล็ก
          5.1 วิเคราะห์ ให้เลขหมู่และทำรายการบรรณานุกรมเรียบร้อยแล้ว นำมาพิมพ์เลขเรียกหนังสือ และติดแถบสีที่สันหนังสือ
          5.2 พิมพ์เลขเรียกหนังสือที่มีข้อความไม่เกิน 6 บรรทัด
          5.3 ติดสันเลขเรียกหนังสือให้ตรงกับตัวเล่ม โดยวัดจากขอบด้านล่างของสันหนังสือขึ้นมา 1 นิ้ว หลังจากนั้นให้ติดเทปใสทับแผ่นสันเพื่อป้องกันการลบเลือนของหมึกพิมพ์
          5.4 ติดแถบสี บริเวณเหนือเลขเรียกหนังสือ
          5.5 การติด RFID ในบริเวณด้านในใบรองปกหลังตัวเล่มหนังสือ และวิทยานิพนธ์ ให้ติดแถบแม่เหล็ก บริเวณด้านในกลางตัวเล่มและชิดสันหนังสือให้มากที่สุด
          5.6 การเชื่อมโยงบาร์โค้ดและข้อมูล RFID เข้ากับข้อมูลของหนังสือ และเปลี่ยนสถานภาพของหนังสือในระเบียนตัวเล่ม (Item) เพื่อออกให้บริการยืม-คืน
          5.7 ทำรายชื่อหนังสือจัดส่งตัวเล่มที่พร้อมออกให้บริการให้แก่ฝ่ายบริการ

6. การปฏิบัติงานพิมพ์สันสื่อโสตทัศนวัสดุ
          6.1 รับซีดี/ดีวีดีนำมาพิมพ์รหัสหมายเลขทะเบียนโสตทัศนวัสดุ บาร์โค้ด และใบกำหนดส่ง
          6.2 พิมพ์สันรหัสหมายเลขทะเบียนโสตทัศนวัสดุ
          6.3 เขียนรหัสหมายเลขทะเบียนโสตทัศนวัสดุด้วยปากกาเขียนซีดีไว้ที่ แผ่นซีดี/ดีวีดี
          6.4 ประทับตรา คำว่า งานบริการสื่อการศึกษา สำนักหอสมุด มก. ลงบนแผ่น 
          6.5 ติดบาร์โค้ดด้านหลังกล่อง ซีดี/ดีวีดี                                        
          6.6 เชื่อมโยงข้อมูลบาร์โค้ด (Barcode) เข้ากับข้อมูลของซีดี/ดีวีดี
          6.7 เปลี่ยนสถานภาพของซีดี/ดีวีดีในระเบียนตัวเล่ม (Item) และทำรายชื่อโสตทัศนวัสดุจัดส่งฝ่ายบริการ

          วันที่ 22 มีนาคม 2560 ฝึกงานฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฟังการบรรยายการแปลงข้อมูลวิทยานิพนธ์ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฝึกปฏิบัติงาน QC File โดย อาจารย์เพ็ญสุภา แก้วพิทยาภรณ์
บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด

การแปลงข้อมูลวิทยานิพนธ์ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์

          เดิมเมื่อก่อนวิทยานิพนธ์ปกติเป็นตัวเล่ม ในปี พ.ศ. 2545 เริ่มมีแนวคิดในการจัดเก็บวิทยานิพนธ์เป็นรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ (PDF File) โดยจัดหมวดหมู่ระบบ LC

การปฏิบัติงานการแปลงข้อมูลวิทยานิพนธ์ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1. ผู้ปฏิบัติงานบริหารตรวจรับแผ่นซีดีวิทยานิพนธ์ นับจำนวน
2. ตรวจสอบแผ่นซีดี รูปร่างลักษณะ ความสมบูรณ์ รอยขูดขีด แตกหัก
3. ตรวจสอบข้อมูลในแผ่นซีดี (QC File)
         ถ้าข้อที่ 2-3 มีปัญหาทำเรื่องส่งกลับคืนให้บัณฑิตวิทยาลัย
4. คัดลอกไฟล์ข้อมูลจากแผ่นซีดีวิทยานิพนธ์ลงคอมพิวเตอร์ บันทึกข้อมูลตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษ ชื่อ-สกุล 3 ตัวอักษร-all เช่น wirote-wan-all
5. ปลดล็อครหัสความปลอดภัยให้กับไฟล์ข้อมูล
          โดยการคลิกที่ File>Properties หน้าจอ Document Properties แท็บ Security ส่วน Sucurity Method เปลี่ยนเป็น No Security ใส่รหัสเพื่อปลดล็อค
6. กำหนดข้อมูล Metadata หน้าจอ Document Properties แท็บ Description เพิ่มข้อมูลในส่วนต่างๆ ดังนี้
          - Title จาก Tag 245
          - Author ชื่อผู้แต่งภาษาไทย ; ภาษาอังกฤษ
          - Subject กำหนดว่า วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์
          - Keywords จาก Tag 650 และ 690 คั่นด้วย , เช่น
                650 b4 ข้าวโพด|xปุ๋ย|xการประเมิน
                650 b4 ข้าวโพด|xดิน
                ลงรายการเป็น ข้าวโพด, ปุ๋ย, การประเมิน, ดิน
7. สร้าง Bookmark
          - เปลี่ยน Tab จาก Page เป็น Bookmarks
          - เลื่อนหน้าที่ต้องการทำBookmarks
          - คลิกเลือก New Bookmarks สร้างกับหน้าต่างๆ ดังนี้
                ใบรับรอง
                ชื่อเรื่อง (ยึดหน้าปกใน)
                บทคัดย่อ
                กิตติกรรมประกาศ
                สารบัญ
                บทที่ 1…5 ชื่อของบทที่ปรากฏ
                เอกสารและอ้างอิง
                ภาคผนวก
                ประวัติ
                     คลิก SAVE
8. รหัสความปลอดภัยให้กับไฟล์ข้อมูล
          โดยการคลิกที่ File>Properties หน้าจอ Document Properties แท็บ Security ส่วน Sucurity Method เปลี่ยนเป็น Password Security และ Setting ส่วน Permissions ใส่รหัส คลิก OK
9. จัดเก็บไฟล์ pdf ไว้ที่ Server
10. เพิ่มข้อมูลในฐานข้อมูลส่วน Tag 856 เช่น y 856 40 |zFull Text|u URL….
11. เพิ่มข้อมูลผู้รับผิดชอบ Tag 999 เช่น y 999 bb trainเดือนปีet
12. ผู้ปฏิบัติงานบริหาร เตรียมตัวทรัพยากรครั้งสุดท้าย เช่น เตรียมตัวแผ่น ติดสติ๊กเกอร์ ติดบาร์โค้ด ติดเลขเรียกทรัพยากร (แผ่นซีดี) เปลี่ยนสถานภาพทรัพยากร
13. ทำรายชื่อส่งออกให้ฝ่ายบริการ


แผ่นซีดีวิทยานิพนธ์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น