วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

ฝึกประสบการณ์วันที่ 14 มีนาคม

          วันที่ 14 มีนาคม 2560 ฝึกงานฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฟังการบรรยายการจัดหาฐานข้อมูลและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การจัดหาหนังสือซื้อภาษาต่างประเทศ และฝึกปฏิบัติงานหาข้อมูลฐานข้อมูลสำนักหอสมุด มก.และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครที่บอกรับ โดยอาจารย์วันเพ็ญ ปรีตะนนท์ บรรณารักษ์ ชำนาญการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด

การจัดหาฐานข้อมูลและสื่ออิเล็กทรอนิกส์
การจัดหาหนังสือซื้อภาษาต่างประเทศ

ฐานข้อมูลที่ได้มาจะเป็นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) และบรรณานุกรม

          นโยบายในการจัดหาของสำนักหอสมุด มก. จัดสรรงบประมาณแบ่งทรัพยากรสารสนเทศเป็น 4 ประเภท คือ หนังสือ 15% วารสาร 30%  สื่อโสตทัศน์ ประมาณ 1% และฐานข้อมูล 40%

นโยบายในการจัดซื้อ (ถ้าหนังสือหรือวารสารมีแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก่อน)
          1. ซื้อสื่อสิ่งพิมพ์
          2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์

          งบประมาณในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ จัดสรรงบประมาณที่แน่นอน แหล่งงบประมาณที่จัดซื้อได้จากงบประมาณแผ่นดิน 20%  และเงินรายได้ 80%

คุณสมบัติของบรรณารักษ์ที่ทำการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศสื่ออิเล็กทรอนิกส์
          1. มีความรู้ภาษาอังกฤษ
          2. ทักษะการใช้อินเทอร์เน็ต
          3. มีความรู้ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
          4. มีข้อมูลแหล่งผลิตสินค้า ตัวสินค้า และคุณสมบัติสินค้า
          5. เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา กระตือรือร้น

ลักษณะการจัดหา (การได้มา)
          1. ทรัพยากรสารสนเทศผลิตขึ้นเอง
          2. ทรัพยากรสารสนเทศจัดซื้อหรือบริจาค

การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
          1. จัดหาเอง
          2. จัดหาแบบภาคีสมาชิก Consortium ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสมาชิกจัดหาและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ข่ายงานห้องสมุดส่วนภูมิภาค PULINET โครงการพัฒนาเครือข่ายระบบห้องสมุดในประเทศ ThaiLIS

          กระบวนการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ คัดเลือกทรัพยากรเสนอรายชื่อในการคัดเลือกจากอาจารย์ นักวิจัย นิสิต

วิธีการเสนอรายชื่อในการคัดเลือก
          1. กรอกแบบฟอร์ม
          2. บันทึกข้อความถึงผู้อำนวยการ
          3. เสนอแนะผ่านเว็บเพจ

ผู้คัดเลือก
          1. ผู้อำนวยการ
          2. คณะกรรมการพัฒนาทรัพยากร
          3. อาจารย์คณะสาขาต่างๆ (ทรัพยากรสารสนเทศภาษาอังกฤษ/สื่ออิเล็กทรอนิกส์)

หลักเกณฑ์
          1. เนื้อหา มีความสอดคล้องกับคณะสาขาที่เปิดสอน
          2. ราคาไม่สูงจนเกินไป
          3. รูปแบบการใช้งานสอดคล้องกับระบบห้องสมุดหรือเครื่องมือในห้องสมุด
          4. เนื้อหาถูกต้อง ชัดเจน
          5. เนื้อหาครอบคลุมหลายสหสาขาวิชา

วิธีการบอกรับสั่งซื้อ
          1. ตัวแทนจำหน่ายในประเทศ
          2. บริษัทหรือสำนักพิมพ์โดยตรง

การสั่งซื้อฐานข้อมูล
          1. ต่ออายุฐานข้อมูล พิจารณาจะบอกรับต่อหรือไม่ โดยดูจากการรวบรวมสถิติการใช้งานที่ผ่านมา ดูจากสถิติในฐานข้อมูล และเอกสารฉบับเต็ม โดยการเปรียบเทียบ 3 ปี ย้อนหลัง
          2. ตรวจสอบการใช้งานในแต่ละฐานข้อมูลว่าคุ้มค่าหรอไม่
          3. คำนวณงบประมาณในการจ่ายเป็นอัตราค่าเงินต่างประเทศ
          4. พิจารณางบจัดสรรต่ออายุฐานข้อมูลไหนบ้าง
          5. รวบรวมฐานข้อมูลต่ออายุ แจ้งบริษัทใบเสนอราคา เพื่อเทียบข้อมูลปีที่ผ่านมา เงื่อนไข ราคา ข้อตกลงต่างๆ
          6. แจ้งสำนักพิมพ์ใบแจ้งหนี้
          7. แจ้งเบิกจ่าย ขออนุมัติจ่าย/ซื้อ
          8. ชำระเงินค่าฐานข้อมูลโอนเงิน (Money Transfer)
          9. แจ้งฝ่ายบริการ ประชาสัมพันธ์ แนะนำการใช้งาน
          10. ตรวจสอบฐานข้อมูล ติดต่อเมื่อมีปัญหา

การจัดหาฐานข้อมูลใหม่
          1. พิจารณาเนื้อหา
          2. พิจารณาคุณภาพฐานข้อมูล
          3. พิจารณาข้อมูลการบอกรับฐานข้อมูลในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่มีการเรียนการสอนใกล้เคียง มก.
          4. พิจารณาเงื่อนไข ชื่อเสียงสำนักพิมพ์
          5. ดูสถิติการทดลองใช้ฐานข้อมูล 1 เดือน

แนวทางการดำเนินงาน
          1. ดำเนินการจัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
          2. ส่วนร่วมคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากอาจารย์คณะต่างๆ

รูปแบบการซื้อ
          1. แบบซื้อขาดจากสำนักพิมพ์ตามสาขาวิชา
          2. แบบชำระค่าใช้งาน 1 ปี เมื่อครบกำหนดทำการพิจารณาคัดเลือกจากรายชื่อที่สามารถเข้าใช้งานภายในเงินที่ชำระไป
          3. แบบรายเล่มให้อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้คัดเลือกเน้นหนังสือภาษาอังกฤษ
          4. บอกรับเป็นรายปี

นโยบายในปี 2559
          1. จัดทำโปรแกรม eBook 4Plus จัดรายชื่อหนังสือให้อาจารย์เป็นผู้คัดเลือกผ่านเว็บไซต์
          2. จัดสรรงบประมาณให้คณะต่างๆ ตามเกณฑ์โดยการติดต่อฝ่ายเทคโนโลยีสารจัดทำโปรแกรม eBook Selection และeBook 4Plus พร้อมติดต่อร้านค้า/สำนักพิมพ์เพื่อขอรายชื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
          3. รวบรวมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากร้านค้า สำนักพิมพ์เพื่อให้ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศนำข้อมูลเข้าโปรแกรม
          4. จัดส่งบันทึกข้อความแจ้งอาจารย์แต่ละคณะ เรื่อง คัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พร้อมงบประมาณแต่ละคณะที่ได้รับการจัดสรร
          โดยคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2558 - 31 มกราคม 2559
          5. พร้อมยืนยันผ่านระบบ 1-25 กุมภาพันธ์ 2559
          6.ปิดระบบ 26 กุมภาพันธ์ 2559
          7. รวบรวมข้อมูล ตรวจสอบความซ้ำซ้อน

          8. ดำเนินการซื้อ เดือนมีนาคม และรายงานการซื้อต่อผู้อำนวยการ คณบดี ในเดือนเมษายน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น