วันที่ 13
มีนาคม 2560 ฝึกงานฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
ฟังการบรรยายภาพรวมงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ การจัดหาหนังสือซื้อภาษาไทย และฝึกปฏิบัติงาน
การลงรายการบรรณานุกรม (ข้อมูลหนังสือภาษาไทย) โดย อาจารย์นาถศจี พันธุ์ใย บรรณารักษ์
ชำนาญการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด
การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ คือ
การจัดหาทรัพยากรทุกอย่าง เช่น หนังสือ วารสาร โสตทัศน์ และฐานข้อมูล
หลักการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศใหญ่ๆ มี 2 วิธี
1. การจัดซื้อ
หนังสือภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ (เน้น E-Book)
2. การบริจาค
การจัดซื้อหนังสือภาษาไทย
1.
ทราบนโยบายของหน่วยงาน นโยบายของสำนักหอสมุด มก. จัดซื้อหนังสือทุกคณะสาขาวิชาที่เปิดสอน
14 คณะ เช่น คณะเกษตร คณะบริหารธุรกิจ คณะประมง
คณะมนุษยศาสตร์ เป็นต้น หนังสือสหสาขาวิชาต่างๆ สุขภาพ/แพทย์ทางเลือก
สิ่งพิมพ์ มก. สิ่งพิมพ์ด้านการเกษตร หนังสือที่ได้รับรางวัล และนวนิยาย/เรื่องสั้น
**หลักการพิจารณา 1. วิเคราะห์เนื้อหา 2. กายภาพหนังสือ
2. งบประมาณ
ที่ได้รับการจัดสรรจากงบแผ่นดินและเงินรายได้ แบ่งการจัดซื้อหนังสือ วารสาร
โสตทัศน์ และฐานข้อมูล ซื้อหนังสือวิชาการ 70% 2-5 เล่ม/copies และซื้อหนังสือนิยาย หนังสืออ่านเล่น 30% 1 เล่ม/copies จะซื้อตามงบประมาณแผ่นดินในแต่ละไตรมาศ เริ่มซื้อตั้งแต่เดือนตุลาคม
ปัจจุบันสิ้นสุดที่เดือนมิถุนายน ได้ประมาณ 3 ไตรมาศ เพื่อให้ทันในการปิดงบประมาณ
วิธีการจัดซื้อหนังสือภาษาไทย
1. ซื้อหนังสือตามความต้องการ
1.1 ผู้ใช้เสนอแนะ
ผ่านแบบฟอร์ม และหน้าเว็บไซต์เสนอซื้อทรัพยากร จำกัดสิทธิ์เฉพาะนิสิต บุคลากร มก.
หรือผู้ใช้ที่ Walk in เข้ามาใช้บริการ สามารถเสนอแนะได้
**บรรณารักษ์จะมีการตรวจสอบซ้ำว่าหอสมุด มก.มีหรือไหม จำนวนเล่มที่มี
จำนวนการใช้จากสถิติ ถ้าไม่มีจะรวบรวมข้อมูลให้ร้านทำการคัดเลือกให้ก่อน
พิจารณาอีกครั้งว่าตรงตามเกณฑ์หรือไม่
2. ซื้อหนังสือที่ทันสมัย
การจัดซื้อผ่านร้านค้าที่มานำเสนอ
ศูนย์หนังสือต่างๆ จาก มธ. จุฬา เป็นต้น มีการประชุมเสนอแนะ/ข้อตกลง
เสนอหนังสือวิชาการเป็นส่วนใหญ่
1. ใบคัดเลือกพร้อมเลขลำดับที่
เพื่อสะดวกในการตรวจสอบ
2. ร้านนำเอกสารเสนอราคา
พร้อมตัวเล่ม ไม่เกินวันที่ 15 ของทุกเดือน ขึ้นเสนอ ผอ.
เมื่อผ่านการพิจารณาอนุมัติแล้วทำการส่งของพร้อมใบส่งของ
ฝึกปฏิบัติงาน
การลงรายการบรรณานุกรม (ข้อมูลหนังสือภาษาไทย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น