วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ฝึกประสบการณ์วันที่ 6 กุมภาพันธ์

          วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 ฝึกงานฝ่ายสารสนเทศ ฟังการบรรยายแนะนำฝ่ายสารสนเทศ
โดย อาจารย์สุพรรณี หงษ์ทอง หัวหน้าฝ่ายสารสนเทศ สำนักหอสมุด

1.  การบริหารจัดการฝ่ายสารสนเทศ
        -  โครงสร้างของฝ่ายสารสนเทศ
        -  ภารกิจของฝ่ายสารสนเทศ
2.  ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ
3.  ศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ
4.  ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร
5.  ศูนย์ประสานงานสารนิเทศ สาขาเกษตรศาสตร์
6.  การจัดทำฐานข้อมูลด้านการเกษตร
7.  เครือข่ายสารสนเทศเกษตรไทย 15 หน่วยงาน






          บ่ายวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 ฝึกงานฝ่ายสารสนเทศ ฟังการบรรยายแนะนำฝ่ายสารสนเทศ
โดย อาจารย์บดินทร์ ผลพันพัว นักเอกสารสนเทศ ปฏิบัติการ ฝ่ายสารสนเทศ สำนักหอสมุด

          หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) เป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีบทบาทสำคัญในปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในอนาคต เนื่องจากการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีต้นทุนต่ำ ใช้เวลาในการผลิตสั้นและสามารถเผยแพร่เพื่อการใช้ประโยชน์ได้รวดเร็ว โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ

          สำนักหอสมุด โดยศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเกษตรศาสตร์ ได้ตระหนักถึงคุณค่าของหนังสือด้านการเกษตร จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเป็นการดำเนินงานร่วมกับสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหน่วยงานความร่วมมือในเครือข่ายสารสนเทศเกษตรไทย รวมทั้งหน่วยงานและเจ้าของผลงานที่ยินดีเผยแพร่ผลงานเพื่อให้เป็นคลังความรู้ สนับสนุนการเรียน การสอน ของโครงการพระดาบส และสาขาวิชาเกษตรของสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้งเกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป นอกจากนี้ การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร ยังเป็นการอนุรักษ์องค์ความรู้ที่มีการสร้างและสั่งสมมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอันยาวนานของการเกษตรไทย ให้คงอยู่เพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเกษตรของประเทศ


          หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เป็นหนังสือที่จัดหาและรวบรวมให้ครบถ้วนค่อนข้างยาก เนื่องจากเป็นหนังสือที่ไม่ค่อยมีวางจำหน่ายทั่วไป และส่วนใหญ่ถูกจัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่โดยหน่วยงาน หรือจัดพิมพ์เพื่อจำหน่ายเป็นการเฉพาะกิจ เมื่อหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ดังกล่าวหมดลง มักจะไม่มีการจัดพิมพ์เพิ่ม จึงทำให้ยากต่อการติดตาม องค์ความรู้ที่อยู่ในหนังสือจำนวนมากสูญหายไปพร้อมกับการเสื่อมสภาพของสิ่งพิมพ์ตามกาลเวลาที่ผ่านไป การสร้างหนังสือให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์องค์ความรู้ และเผยแพร่ความรู้ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน




          หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป รวบรวมหนังสือ ตำรา และผลงาน ซึ่งเป็นผลงานของอาจารย์ นักวิจัย และบุคลากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในสาขาวิชาต่าง ๆ (ยกเว้นสาขาการเกษตร) จัดทำเป็น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อให้ผลงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ถูกใช้ประโยชน์ เป็นสื่อการศึกษาของประเทศ ได้รับการเผยแพร่สู่สังคมอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เพื่อสนับสนุนให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้” 



ข้อดี-ข้อเสียของ e-Books

ข้อดีของ e-Books
   1. อ่านที่ไหน เมื่อไหร่ ได้ตลอดเวลา เนื่องจากพกไปได้ตลอดและได้จำนวนมาก
   2. ประหยัดการตัดไม้ทำลายป่า เพราะไม่ต้องตัดไม้มาทำกระดาษ
   3. เก็บรักษาได้ง่าย ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ ประหยัดค่าเก็บรักษา
   4. ค้นหาข้อความได้ ยกเว้นว่าอยู่ในลักษณะของภาพ
   5. ใช้พื้นที่น้อยในการจัดเก็บ

ข้อเสียของ e-Books
   1. ต้องอาศัยพลังงานในการอ่านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่
   2. เสียสุขภาพสายตา จากการได้รับแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
   3. ขาดความรู้สึก หรืออรรถรส
   4. อาจเกิดปัญหากับการ ลง hardware หรือ software ใหม่หรือแทนที่อันเก่า
   5. ต้องมีการดูแลไฟล์ให้ดี ไม่ให้เสียหรือสูญหาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น