เช้าวันที่
19 มกราคม 2560 ฟังการบรรยาย บริการยืมระหว่างห้องสมุด
(ในประเทศ) โดย อาจารย์ สมใจ ขุนเจริญ บรรณารักษ์ ชำนาญการ ฝ่ายบริการ สำนักหอสมุด
บริการยืมระหว่างห้องสมุด
(ในประเทศ) เป็นบริการจัดขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดอื่นๆ
โดยผู้ใช้บริการสามารถขอใช้บริการยืมหนังสือฉบับจริง ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนา
จากห้องสมุดอื่นทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่มีเอกสารสิ่งพิมพ์ทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ
รูปแบบการบริการ
1. การขอรับบริการยืมระหว่างห้องสมุด
2. การให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด
3. การให้บริการบุคคลภายนอกโดยการโอนเงินค่าบริการ
บ่ายวันที่
19 มกราคม 2560 ฝึกงานฝ่ายบริการ
งานบริการยืมระหว่างห้องสมุด (ต่างประเทศ) โดย อาจารย์นัยนา
ตรีเนตรสัมพันธ์ บรรณารักษ์ เชี่ยวชาญ สำนักหอสมุด
เนื้อหาการบรรยาย
1. ความหมาย
1.1 บริการยืมระหว่างห้องสมุด
คือ บริการที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการที่ต้องการทรัพยากรทั้งที่เป็นตัวเล่มสำเนาเอกสาร
ไฟล์เอกสาร ฯลฯ จากห้องสมุดอื่นๆ ที่มีความร่วมมือกัน โดยปฏิบัติตาม ระเบียบการยืม
ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างห้องสมุดผู้ให้ยืม (Lending Library) และห้องสมุดผู้ขอยืม (Borrowing Library)
1.2 ประเภทบริการยืมระหว่างห้องสมุด
- บริการยืมระหว่างห้องสมุด (ในประเทศ)
- บริการยืมระหว่างห้องสมุด (ต่างประเทศ)
Thai Libraries
Consortium (เครือข่ายความร่วมมือห้องสมุด) ได้แก่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
และมหาวิทยาลัยมหิดล
2. พัฒนาการของบริการยืมระหว่างห้องสมุด
(ต่างประเทศ)
2.1 ติดต่อกันทางไปรษณีย์
- ขอไปยังห้องสมุดที่มีเอกสาร ตรวจสอบที่อยู่จาก The world of
Learning
- ขอผ่านศูนย์ AGRIS ในแต่ละประเทศ
- ขอผ่าน British Library
2.2 ติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์
- ขอผ่าน STKS
- ขอผ่าน สำนักหอสมุดและคลังความรู้ ม. มหิดล
- ขอผ่าน OCLC Worldshare
3. ขั้นตอนการใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดกับห้องสมุดสมาชิก
OCLC
3.1 Borrowing / การสืบค้น
1. KU Library
Catalog
2. KU Library
& Worldwide Library Catalog ( Worldcat )
3.2 Borrowing /การตรวจสอบคำขอ
3.3 Borrow / การส่งคำขอไปต่างปรเทศ,
Conditional, การตรวจสอบคำขอ,
3.4 การรับเอกสารที่ขอไป
3.5 Lending / การตรวจสอบ
3.6 เก็บสถิติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น