วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

รายงานการฝึกประสบการณ์สัปดาห์ที่ 12

การฝึกงานสัปดาห์สุดท้าย
27 มีนาคม 2560       ทบทวน จัดทำและเตรียมสรุปการฝึกงาน
28 มีนาคม 2560       นำเสนอสรุปการฝึกงาน สำนักหอสมุด มก.
29 มีนาคม 2560       แก้ไขรายงานให้ถูกต้อง
30 มีนาคม 2560       นำส่งรายงานที่ถูกต้องและสมบูรณ์ในรูปแบบไฟล์
31 มีนาคม 2560       ปัจฉิมนิเทศนักศึกษาฝึกงาน 
                                        โดย ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านประชาสัมพันธ์และลูกค้าสัมพันธ์








วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

รายงานการฝึกประสบการณ์สัปดาห์ที่ 11

          วันที่ 20 มีนาคม 2560 ฝึกงานฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฟังการบรรยายการลงรายการและวิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือภาษาไทย ฝึกปฏิบัติงานลงรายการและวิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือภาษาไทย โดย อาจารย์วรรนิภา รพีพัฒนา บรรณารักษ์ ชำนาญการพิเศษ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด





          วันที่ 21 มีนาคม 2560 ฝึกงานฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฟังการบรรยายการลงรายการและวิเคราะห์หมวดหมู่วิทยานิพนธ์ ฝึกปฏิบัติงานวิเคราะห์หมวดหมู่วิทยานิพนธ์ ให้หัวเรื่อง กำหนดเลขหมู่ และลงรายการในระบบฐานข้อมูล โดย อาจารย์เพ็ญสุภา แก้วพิทยาภรณ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ และอาจารย์สมภพ หนูอ้น บรรณารักษ์ปฏิบัติการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด




          เช้าวันที่ 22 มีนาคม 2560 ฝึกงานฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฟังการบรรยายภาพรวมงานจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ การจัดเตรียมตัวเล่มหนังสือเพื่อออกให้บริการ โดย อาจารย์ชุติมาส บุญหนุน บรรณารักษ์ปฏิบัติการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด



          บ่ายวันที่ 22 มีนาคม 2560 ฝึกงานฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฟังการบรรยายการแปลงข้อมูลวิทยานิพนธ์ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฝึกปฏิบัติงาน QC File โดย อาจารย์เพ็ญสุภา แก้วพิทยาภรณ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด




          วันที่ 23 มีนาคม 2560 ฝึกงานฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฟังการบรรยายการจัดการโสตทัศนวัสดุ ฝึกปฏิบัติงานวิเคราะห์และลงรายการบรรณานุกรมสื่อโสตทัศนวัสดุ ซีดีประเภท วิชาการ/รายงานการวิจัย โดย อาจารย์รัสรินทร์ นิศาธรรมพัฒน์ บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด



          วันที่ 24 มีนาคม 2560 ฝึกงานฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฟังการบรรยายภาพรวมของฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ และการจัดการทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Eco-Library) โดย อาจารย์พรนภา ตั้งนิติพงศ์ หัวหน้าฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด


วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

ฝึกประสบการณ์วันที่ 24 มีนาคม

          วันที่ 24 มีนาคม 2560 ฝึกงานฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฟังการบรรยายภาพรวมของฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ และการจัดการทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Eco-Library) โดย อาจารย์พรนภา ตั้งนิติพงศ์ หัวหน้าฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด

ภาพรวมของฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ

          จัดหาทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท เช่น หนังสือ วารสาร ฐานข้อมูล และสื่อโสตทัศนวัสดุที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะวิทยาเขตบางเขน
          วิเคราะห์และลงรายการทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับจากการจัดซื้อหรือได้รับบริจาค สิ่งพิมพ์ มก. จากคณะ สาขาวิชาที่ผลิตขึ้นเอง ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ พร้อมทั้งช่วยวิเคราะห์และลงรายการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดคณะที่ร้องขอมา เช่น ห้องสมุดคณะมนุษย์ ที่มีทรัพยากรเฉพาะด้าน เช่น หนังสือขงจื้อ หนังสือพุทธศาสนา เป็นต้น พร้อมทั้งส่งข้อมูล E-Thesis (Full-text) ให้กับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สหบรรณานุกรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย (UCTAL) เพื่อใช้ใน Single Search
          จัดเตรียมทรัพยากร ดูแลรักษาทรัพยากรก่อนและหลังให้ออกบริการ งานซ่อมบำรุงก่อนให้บริการ ประทับตรา เสริมปก ติดบาร์โค้ด RFID พิมพ์และติดสันหนังสือ หุ้มปก ติดแถบสี เปลี่ยนสถานภาพทรัพยากร พร้อมทั้ง QC File

การจัดการทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Eco-Library)

          แนวความคิดในการออกแบบและพัฒนา Eco-Library ให้เป็นแหล่งบริการความรู้นี้ มุ่งเน้นการใช้ครุภัณฑ์เก่าและวัสดุเหลือใช้ต่างๆโดยนำองค์ความรู้จากศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากวัสดุเหลือใช้มาใช้ในการคัดเลือกวัสดุ ศึกษาและออกแบบพื้นที่การใช้งานของ Eco-Library
          พื้นที่ของ Eco-Library ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ
             1. Common Reading Space หรือ Eco-Library
             2. Kid Reading space เพื่อการใช้งานที่หลากหลายสำหรับเด็ก
             3. Alumni Space สำหรับให้บริการศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Eco-Library) ประเภทเนื้อหาทรัพยากร
กึ่งวิชาการ นวนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล นิทานสำหรับเด็ก เป็นต้น การให้เลขหมู่ใช้วิธี Running Number
          1. หนังสือเด็ก เยาวชน แบ่งหมวดหมู่โดยการติดแถบสี สีหลัก คือ สีชมพู ใช้สัญลักษณ์อักษรภาษาไทยแยกประเภท
             - ยว-ว = หนังสือภาพ
             - ยว-ท = หนังสือทั่วไป เช่น หนังสือการ์ตูนด้านวิทยาศาสตร์
             - ยว-อ = หนังสืออ้างอิงสำหรับเด็ก ไม่สามารถยืมออกได้
          2. หนังสือที่ได้รับรางวัล ติดแถบสีม่วง เช่น หนังสือซีไรต์ หนังสือของสพฐ. และหนังสือโนเบล
หมายเหตุ ฉ.1 ไม่สามารถยืมออกได้
          3. ศิษย์เก่า มก. (Alumni Space) หนังสือศึกษาต่อต่างประเทศ หนังสือหางานทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ แถบสีเหลือง
          4. นวนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล
          5. กึ่งวิชาการ เช่น หมวด TT TX ด้านคหกรรม เช่น งานเย็บปักถักรอย, AC ด้านเบ็ดเตล็ด, TZ นวนิยายต่างประเทศ
          6. หนังสือสุขภาพ ได้รับจาก สสส. แถบสีเหลือง     
          7. หนังสือสัจจะ คัดจากหนังสือที่ได้รับหลายฉบับ
          8. บัณฑิตน่าอ่าน โดยบัณฑิตเป็นผู้เสนอหนังสือที่อยากอ่าน
          9. อาเซียน เน้นหนังสืออ่านง่าย สอนภาษา

          10. หนังสือรับบริจาค คือ หนังสือทั่วไปทั้งวิชาการและไม่วิชาการ หนังสือที่ให้คุณค่า 

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KOHA 


วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

ฝึกประสบการณ์วันที่ 23 มีนาคม

          วันที่ 23 มีนาคม 2560 ฝึกงานฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฟังการบรรยายการจัดการโสตทัศนวัสดุ ฝึกปฏิบัติงานวิเคราะห์และลงรายการบรรณานุกรมสื่อโสตทัศนวัสดุ ซีดีประเภท วิชาการ/รายงานการวิจัย โดย อาจารย์รัสรินทร์ นิศาธรรมพัฒน์ บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด

การจัดการโสตทัศนวัสดุ

โสตทัศนวัสดุที่จัดซื้อแบ่งออก เป็น 3 ประเภท ได้แก่
          1. โสตทัศนวัสดุวิชาการ/ภาษา
          2. สารคดี
          3. บันเทิง หนังไทย/ต่างประเทศ

วิธีการจัดหาหรือซื้อโสตทัศนวัสดุ มี 3 วิธี
          1. สำรวจตลาด ออกไปซื้อหรือสั่งซื้อผ่าน Amazon
          2. บริษัทหรือสำนักพิมพ์ที่มาเสนอซื้อ เน้นทางด้านวิชาการ
          3. บริจาค ได้รับจากหน่วยงานภายใน กรม หรือมูลนิธิต่างๆ และหน่วยงานภายนอก สถานบันการศึกษาต่างๆ

นโยบายในการคัดเลือกโสตทัศนวัสดุ
          1. เป็นโสตทัศนวัสดุที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนของคณะสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน
          2. เป็นโสตทัศนวัสดุที่มีคุณภาพให้แง่คิด คติสอนใจเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้

ขั้นตอนการปฏิบัติงานการจัดการโสตทัศนวัสดุหลักๆ คือ
          1. ตรวจสอบซ้ำในระบบฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด
              กรณีตรวจพบว่าซ้ำ ทำการ Add Item
          2. ดำเนินการวิเคราะห์และลงรายการโสตทัศนวัสดุ เช่น ลงรายการ Tag ต่างๆ และให้หัวเรื่อง
          3. เมื่อทำการวิเคราะห์และลงรายการเรียบร้อยแล้ว ส่งทรัพยากรให้กับงานจัดเตรียมดำเนินการ ติดเลขเรียกทรัพยากร (Call number) ติดบาร์โค้ด เขียนแผ่นซีดี และติดใบกำหนดส่ง
          4. เปลี่ยนสถานภาพ (Status) ในระบบ และทำรายชื่อส่งให้กับฝ่ายบริการ เพื่อออกให้บริการ






การลงรายการบรรณานุกรมสื่อโสตทัศนวัสดุ

          โสตทัศนวัสดุ คือ อุปกรณ์ที่ให้ความรู้สึก ความรู้ ความคิด โดยผ่านทางสายตา ทางหู เช่น เทปบันทึกเสียง วีดิทัศน์ แฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

          การลงรายการ GMD (General Material Designation) สื่อโสตทัศนวัสดุที่นิยมใช้ลงรายการเพื่อระบุประเภทของวัสดุ ตัวอย่างเช่น
          Electronic resource    ใช้กับ    แฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น รายงานการวิจัย รายการประชุม โปรแกรมต่างๆ
          Video recording         ใช้กับ    วีดิทัศน์ เช่น หนัง สารคดี
          Sound recording        ใช้กับ    วัสดุบันทึกเสียง เช่น MP3 เสียงสอนภาษา

          การลงรายการ SMD (Specific Material Designation) สื่อโสตทัศนวัสดุลักษณะนามเฉพาะของวัสดุที่นิยมใช้ ตัวอย่างเช่น
          CD-ROM/ซีดี-รอม        ใช้สำหรับ         ซีดี-รอม
          DVD-ROM/ดีวีดี-รอม     ใช้สำหรับ         ดีวีดี-รอม
          Video disc/วีดิโอดิสก์    ใช้สำหรับ         วีดีโอ ซีดี (Video CD) และ ดีวีดี-วีดีโอ (DVD-Video)

รายการข้อมูล (Tags) ที่ใช้ในการลงรายการสำหรับสื่อโสตทัศนวัสดุ

Tag 040 แหล่งที่ลงรายการ และภาษา
          ตัวอย่างเช่น
          040 bb KASET|btha

Tag 099 รหัสโสตทัศนวัสดุที่ห้องสมุดกำหนดขึ้นเอง  
** เลขเรียกสื่อโสตทัศนวัสดุ ประกอบ ลักษณะนามเฉพาะของวัสดุ (SMD) และเลขลำดับ 5 หลัก
099 bb CD _ _ _ _ _
          ตัวอย่างเช่น
          099 bb CD 01175
          099 bb VCD 02711

Tag 100 รายการหลัก ชื่อบุคคล
          ตัวอย่างเช่น
          100 0b การุณ เจริญกิจ
          100 1b Mike, Sketchee

Tag 245 ชื่อเรื่องจริงและการแจ้งความรับผิดชอบ พร้อมแจ้งระบุส่วนของประเภทวัสดุ GMD ซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มและแตกต่างจากการลงรายการแบบหนังสือ |h[electronic resource]
          ตัวอย่างเช่น
          245 10 รัตนโกสินทร์ 200 ปี|h[electronic resource] /|cการุณ เจริญกิจ

Tag 246 ชื่อเรื่องที่แตกต่าง
          ตัวอย่างเช่น
          245 10 บ้านขังวิญญาณ|h[videorecording] =|bMy House /|cธีรธร เชาวโยธิน
          246 31 My house

Tag 300 ลักษณะทางกายภาพ
สำหรับการลงรายาการลักษณะนามเฉพาะของวัสดุ SMD จะต้องสัมพันธ์กับข้อมูลที่ลง GMD ใน Tag 245
          ตัวอย่างเช่น
          300 bb 1 แผ่น :|bเสียง, สี ;|c4 ¾ นิ้ว

Tag 490 ชื่อชุด
          ตัวอย่างเช่น
          490 1b GraphicMania

Tag 500 หมายเหตุทั่วไป
          ตัวอย่างเช่น
          500 bb ชื่อเรื่อวจากกล่อง

Tag 505 หมายเหตุสารบัญ
          ตัวอย่างเช่น
          505 0b I need somebody (อยากขอสักคน)--ตัดใจไม่ไหว--คุณผู้หญิงผมยาว--ถ้าคืนนี้คุณนอนไม่หลับ--อดห่วงไม่ไหว--รหัสรัก--สายไปไหน--หยุดฉันที--น้องพิเศษ--เพียงสายตา

Tag 520 หมายเหตุเกี่ยวกับสรุปย่อ
          ตัวอย่างเช่น
          แมลงที่มีอยู่มากมายเมื่อมันได้สร้างรังที่แข็งแกร่งก็ยังมิอาจรอดพ้นจากตัวนิ่มหรือตัวกินมดได้


Tag 538 รายละเอียดของระบบ
          ตัวอย่างเช่น
          538 bb ระบบที่ต้องการ: CPU 486 ขึ้นไป ; หน่วยความจำ 16 MB ขึ้นไป ; Windows 95/98/2000/NT/ME

Tag 546 หมายเหตุเกี่ยวกับภาษา
          ตัวอย่างเช่น
          546 bb Languages: English, Portuguese, Spanish, Thai
          546 bb Thai-subtitle

Tag 650 หัวเรื่อง
          ตัวอย่างเช่น
          650 b0 การเขียนแบบวิศวกรรม|xโปรแกรมคอมพิวเตอร์

Tag 710 เพิ่มชื่อหน่วยงาน
          ตัวอย่างเช่น
          710 2b มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.|bสาขาพืชสวน

Tag 999 ชื่อผู้รับผิดชอบปฏิบัติงาน
          ตัวอย่างเช่น

          999 bb snru0317n


วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

ฝึกประสบการณ์วันที่ 22 มีนาคม

          วันที่ 22 มีนาคม 2560 ฝึกงานฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฟังการบรรยายภาพรวมงานจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ การจัดเตรียมตัวเล่มหนังสือเพื่อออกให้บริการ โดย อาจารย์ชุติมาส บุญหนุน บรรณารักษ์ปฏิบัติการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด

งานจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ

1. ภาระหน้าที่ของหัวหน้างานจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ
          1.1 ควบคุมดูแลงานเรื่องประทับตรา ติดสัน ซ่อมหนังสือ ติดแถบแม่เหล็ก และRFID
          1.2 คำนวณงบประมาณประจำปี
          1.3 ทำบันทึกข้อความจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ
          1.4 รวบรวมและจัดทำรายงานผลการทำงาน เป็นรายเดือน
          1.5 จัดทำตารางเวรรับส่งเอกสารของฝ่าย และตารางเวรรับหนังสือบริจาค

2. การปฏิบัติงานประทับตราหนังสือ
          2.1 รับตัวเล่มที่ผ่านการจัดพิมพ์รายการบรรณานุกรมเบื้องต้นแล้ว นำหนังสือจัดขึ้นชั้น รอประทับตรา
          2.2 หัวหน้างานจัดเตรียมทรัพยากร จัดสรรปริมาณงานประทับตราให้กับพนักงานซ่อมเอกสารเท่าเทียมกัน พร้อมจดบันทึกสถิติการดำเนินงานหนังสือประทับตรา
          2.3 ดำเนินการประทับตราห้องสมุด เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ
             - ประทับตราวงกลมรูปพระพิรุณหน้าปกใน และตัวหนังสือคำว่า สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลางหน้ากระดาษ
             - ประทับตรา คำว่า สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3 ตำแหน่ง บริเวณขอบสันหนังสือด้านบน ล่าง และด้านขวา
             - สิ่งพิมพ์ มก. ประทับตรา คำว่า สิ่งพิมพ์ มก. บริเวณหน้าแรกด้านขวา และติดสติ๊กเกอร์ KU หน้าปกหนังสือด้านขวา
             - ประทับตราหน้าลับเฉาะ หน้า 15
          2.4 ติดบาร์โค้ด กึ่งกลางบนปกหลังหนังสือ แล้วปิดทับด้วยแผ่นลามิเนต
          2.5 พนักงานซ่อมเอกสาร พิจารณาการบำรุงรักษาหนังสือ โดยการเจาะเย็บหนังสือ
          2.6 ส่งดำเนินการ รอวิเคราะห์ ให้กับบรรณารักษ์งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ



3. การปฏิบัติงานประทับตราวารสาร
          3.1 หลังจากลงทะเบียนวารสารแล้ว มอบหมายแบ่งงานเพื่อทำการประทับตราวารสาร
          3.2 ดำเนินการประทับตราห้องสมุดเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ
             - ประทับตราคำว่า สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลางหน้ากระดาษด้านบนของหน้าปกใน และประทับตราวันที่
             - ประทับตรา คำว่า สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3 ตำแหน่ง บริเวณขอบสันหนังสือด้านบน ล่าง และด้านขวา
             - ประทับตราหน้าลับเฉาะ หน้า 15
          3.3 ติดบาร์โค้ดในบริเวณชิดขอบกึ่งกลางปกหลังด้านนอกของวารสาร
          3.4 ส่งคืนให้กับบรรณารักษ์งานวารสาร

4. การปฏิบัติงานซ่อมหนังสือ
          4.1 รับตัวเล่มที่ผ่านการติดใบกำหนดส่ง พิมพ์สันและติดสันหนังสือเป็นที่เรียบร้อย พิจารณาหุ้มปกหนังสือตามความเหมาะสม
          4.2 รับตัวเล่มหนังสือที่พิจารณาซ่อมจากฝ่ายบริการโดยมีกำหนดการส่งหนังสือเพื่อซ่อมบำรุงทุก 2 สัปดาห์ / ครั้ง / เดือน และมอบหมายให้พนักงานซ่อมผลัดเปลี่ยนกันตรวจสอบจำนวนและรายชื่อให้ตรงกัน พร้อมทั้งจัดสรรปริมาณหนังสือซ่อมอย่างเท่าเทียมกัน
          4.3 พิจารณาสภาพชำรุด ให้คัดแยกหนังสือที่เกิดจากการชำรุด การฉีกขาด หรือปกหลุด สันหลุด รอยฉีกขาด หน้าแหว่งทะลุเป็นรู หน้าหลุด (บางแผ่น) เข้าเล่มเข้าปกใหม่ โดยเลือกวิธีการซ่อมตามความเหมาะสม
          4.4 การซ่อมโดยวิธีทากาวสำหรับหนังสือที่ปกขาด สันหลุด รอยฉีกขาด หน้าว่างไม่มีข้อความบางแผ่นให้ถ่ายสำเนาหน้าที่หายไปแล้วเสริมหน้าให้สมบูรณ์ครบถ้วน และการซ่อมโดยวิธีเย็บแบบเจาะ ใช้ซ่อมเล่มเดิมที่ไสกาว หรือเข้าเล่มใหม่
          4.5 เมื่อซ่อมเสร็จแล้ว ก็การประทับตราและติดบาร์โค้ดหนังสือซ่อม พร้อมทั้งเขียนสัน และพิมพ์สันหนังสือซ่อม
          4.7 ติด RFID, เชื่อมโยงบาร์โค้ด (Barcode) และข้อมูล RFID เข้ากับข้อมูลของหนังสือ และเปลี่ยนสถานภาพของหนังสือในระเบียนตัวเล่ม (Item) เพื่อออกให้บริการยืม-คืน
          4.8 ทำรายชื่อหนังสือจัดส่งตัวเล่มที่พร้อมออกให้บริการให้แก่ฝ่ายบริการ

5. การปฏิบัติงานพิมพ์สันหนังสือและการติดRFID/แถบแม่เหล็ก
          5.1 วิเคราะห์ ให้เลขหมู่และทำรายการบรรณานุกรมเรียบร้อยแล้ว นำมาพิมพ์เลขเรียกหนังสือ และติดแถบสีที่สันหนังสือ
          5.2 พิมพ์เลขเรียกหนังสือที่มีข้อความไม่เกิน 6 บรรทัด
          5.3 ติดสันเลขเรียกหนังสือให้ตรงกับตัวเล่ม โดยวัดจากขอบด้านล่างของสันหนังสือขึ้นมา 1 นิ้ว หลังจากนั้นให้ติดเทปใสทับแผ่นสันเพื่อป้องกันการลบเลือนของหมึกพิมพ์
          5.4 ติดแถบสี บริเวณเหนือเลขเรียกหนังสือ
          5.5 การติด RFID ในบริเวณด้านในใบรองปกหลังตัวเล่มหนังสือ และวิทยานิพนธ์ ให้ติดแถบแม่เหล็ก บริเวณด้านในกลางตัวเล่มและชิดสันหนังสือให้มากที่สุด
          5.6 การเชื่อมโยงบาร์โค้ดและข้อมูล RFID เข้ากับข้อมูลของหนังสือ และเปลี่ยนสถานภาพของหนังสือในระเบียนตัวเล่ม (Item) เพื่อออกให้บริการยืม-คืน
          5.7 ทำรายชื่อหนังสือจัดส่งตัวเล่มที่พร้อมออกให้บริการให้แก่ฝ่ายบริการ

6. การปฏิบัติงานพิมพ์สันสื่อโสตทัศนวัสดุ
          6.1 รับซีดี/ดีวีดีนำมาพิมพ์รหัสหมายเลขทะเบียนโสตทัศนวัสดุ บาร์โค้ด และใบกำหนดส่ง
          6.2 พิมพ์สันรหัสหมายเลขทะเบียนโสตทัศนวัสดุ
          6.3 เขียนรหัสหมายเลขทะเบียนโสตทัศนวัสดุด้วยปากกาเขียนซีดีไว้ที่ แผ่นซีดี/ดีวีดี
          6.4 ประทับตรา คำว่า งานบริการสื่อการศึกษา สำนักหอสมุด มก. ลงบนแผ่น 
          6.5 ติดบาร์โค้ดด้านหลังกล่อง ซีดี/ดีวีดี                                        
          6.6 เชื่อมโยงข้อมูลบาร์โค้ด (Barcode) เข้ากับข้อมูลของซีดี/ดีวีดี
          6.7 เปลี่ยนสถานภาพของซีดี/ดีวีดีในระเบียนตัวเล่ม (Item) และทำรายชื่อโสตทัศนวัสดุจัดส่งฝ่ายบริการ

          วันที่ 22 มีนาคม 2560 ฝึกงานฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฟังการบรรยายการแปลงข้อมูลวิทยานิพนธ์ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฝึกปฏิบัติงาน QC File โดย อาจารย์เพ็ญสุภา แก้วพิทยาภรณ์
บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด

การแปลงข้อมูลวิทยานิพนธ์ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์

          เดิมเมื่อก่อนวิทยานิพนธ์ปกติเป็นตัวเล่ม ในปี พ.ศ. 2545 เริ่มมีแนวคิดในการจัดเก็บวิทยานิพนธ์เป็นรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ (PDF File) โดยจัดหมวดหมู่ระบบ LC

การปฏิบัติงานการแปลงข้อมูลวิทยานิพนธ์ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1. ผู้ปฏิบัติงานบริหารตรวจรับแผ่นซีดีวิทยานิพนธ์ นับจำนวน
2. ตรวจสอบแผ่นซีดี รูปร่างลักษณะ ความสมบูรณ์ รอยขูดขีด แตกหัก
3. ตรวจสอบข้อมูลในแผ่นซีดี (QC File)
         ถ้าข้อที่ 2-3 มีปัญหาทำเรื่องส่งกลับคืนให้บัณฑิตวิทยาลัย
4. คัดลอกไฟล์ข้อมูลจากแผ่นซีดีวิทยานิพนธ์ลงคอมพิวเตอร์ บันทึกข้อมูลตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษ ชื่อ-สกุล 3 ตัวอักษร-all เช่น wirote-wan-all
5. ปลดล็อครหัสความปลอดภัยให้กับไฟล์ข้อมูล
          โดยการคลิกที่ File>Properties หน้าจอ Document Properties แท็บ Security ส่วน Sucurity Method เปลี่ยนเป็น No Security ใส่รหัสเพื่อปลดล็อค
6. กำหนดข้อมูล Metadata หน้าจอ Document Properties แท็บ Description เพิ่มข้อมูลในส่วนต่างๆ ดังนี้
          - Title จาก Tag 245
          - Author ชื่อผู้แต่งภาษาไทย ; ภาษาอังกฤษ
          - Subject กำหนดว่า วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์
          - Keywords จาก Tag 650 และ 690 คั่นด้วย , เช่น
                650 b4 ข้าวโพด|xปุ๋ย|xการประเมิน
                650 b4 ข้าวโพด|xดิน
                ลงรายการเป็น ข้าวโพด, ปุ๋ย, การประเมิน, ดิน
7. สร้าง Bookmark
          - เปลี่ยน Tab จาก Page เป็น Bookmarks
          - เลื่อนหน้าที่ต้องการทำBookmarks
          - คลิกเลือก New Bookmarks สร้างกับหน้าต่างๆ ดังนี้
                ใบรับรอง
                ชื่อเรื่อง (ยึดหน้าปกใน)
                บทคัดย่อ
                กิตติกรรมประกาศ
                สารบัญ
                บทที่ 1…5 ชื่อของบทที่ปรากฏ
                เอกสารและอ้างอิง
                ภาคผนวก
                ประวัติ
                     คลิก SAVE
8. รหัสความปลอดภัยให้กับไฟล์ข้อมูล
          โดยการคลิกที่ File>Properties หน้าจอ Document Properties แท็บ Security ส่วน Sucurity Method เปลี่ยนเป็น Password Security และ Setting ส่วน Permissions ใส่รหัส คลิก OK
9. จัดเก็บไฟล์ pdf ไว้ที่ Server
10. เพิ่มข้อมูลในฐานข้อมูลส่วน Tag 856 เช่น y 856 40 |zFull Text|u URL….
11. เพิ่มข้อมูลผู้รับผิดชอบ Tag 999 เช่น y 999 bb trainเดือนปีet
12. ผู้ปฏิบัติงานบริหาร เตรียมตัวทรัพยากรครั้งสุดท้าย เช่น เตรียมตัวแผ่น ติดสติ๊กเกอร์ ติดบาร์โค้ด ติดเลขเรียกทรัพยากร (แผ่นซีดี) เปลี่ยนสถานภาพทรัพยากร
13. ทำรายชื่อส่งออกให้ฝ่ายบริการ


แผ่นซีดีวิทยานิพนธ์




วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560

ฝึกประสบการณ์วันที่ 21 มีนาคม

          วันที่ 21 มีนาคม 2560 ฝึกงานฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฟังการบรรยายการลงรายการและวิเคราะห์หมวดหมู่วิทยานิพนธ์ ฝึกปฏิบัติงานวิเคราะห์หมวดหมู่วิทยานิพนธ์ ให้หัวเรื่อง กำหนดเลขหมู่ และลงรายการในระบบฐานข้อมูล โดย อาจารย์เพ็ญสุภา แก้วพิทยาภรณ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ และอาจารย์สมภพ หนูอ้น บรรณารักษ์ปฏิบัติการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด

การลงรายการและวิเคราะห์หมวดหมู่วิทยานิพนธ์

          หน้าที่หลักของการลงรายการและวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ คือ การให้หัวเรื่อง (Subject heading)
และการให้เลขหมู่หรือเลขเรียกหนังสือ (Call number.)
          นโยบายสำหรับวิทยานิพนธ์ คือ จัดเก็บเฉพาะวิทยานิพนธ์ (Thesis) ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทั้งปริญญาตรี โท และเอก ก่อนเป็นหลัก และจัดเก็บของบุคลากรหรืออาจารย์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางส่วนที่ยินดีให้เผยแพร่สิ่งพิมพ์
          **ไม่จัดเก็บในกรณีอาจารย์พิเศษ หรืออาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษในมหาวิทยาลัยอื่นที่ได้รับมา

การได้รับวิทยานิพนธ์

          ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ได้รับวิทยานิพนธ์จากบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของนิสิตทั้งปริญญาตรี โท และเอกที่ทำวิทยานิพนธ์สำเร็จการศึกษา จำนวนที่ได้รับ วิทยานิพนธ์ 2 เล่ม CD 2 แผ่น จัดแบ่งให้วิทยาเขตกำแพงแสน ตรวจสอบรายชื่อตามลำดับ ถ้ามีปัญหา เช่น ชื่อผู้วิจัยไม่ตรง ชื่อวิทยานิพนธ์ไม่ถูกต้องจะทำเรื่องตีกลับคืนให้บัณฑิตวิทยาลัย

การลงรายการบรรณานุกรมวิทยานิพนธ์/ปัญหาพิเศษ

การใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติInnopac Millennium ส่วนที่ใช้เฉพาะกับวิทยานิพนธ์ ได้แก่
          ป้ายระเบียน (Leader) ระบุประเภททรัพยากรสารสนเทศ (MAT TYPE) เป็น t
          ป้ายระเบียนข้อมูลการลงรายการ (MARC Leader) ระบุประเภทของระเบียน (REC TYPE) เป็น t

การลงรายการบรรณานุกรมวิทยานิพนธ์ใช้ 11 Tags ดังนี้
1. Tag 008 ใช้ระบุชนิดสิ่งพิมพ์ วิทยานิพนธ์ ระบุเป็น m
2. Tag 040 ใช้ระบุแหล่งที่จัดทำข้อมูลการทำรายการ KASET|b ภาษาของการทำรายการ
เช่น 049 bb KASET|btha
     049 bb KASET|beng      
3. Tag 049 ใช้ระบุสถานที่เก็บสิ่งพิมพ์ภายในห้องสมุด
    วพ = วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และปริญญานิพนธ์
    Thesis = วิทยานิพนธ์ที่เป็นภาษาอังกฤษ
    ปพ = ปัญหาพิเศษ ภาคนิพนธ์ โครงงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และการศึกษาค้นคว้าอิสระ
    SP = ปัญหาพิเศษที่เป็นภาษาอังกฤษ
4. Tag 246  = ชื่อเรื่องเทียบเคียง (ภาษาอังกฤษ)
5. Tag 260 = ลงเฉพาะปีที่พิมพ์ |cปีที่พิมพ์
6. Tag 300 = บรรณลักษณ์วิทยานิพนธ์ ลงเฉพาะจำนวนแผ่น
7. Tag 500 = หมายเหตุทั่วไป ระบุคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
8. Tag 502 = หมายเหตุระบุ นำเสนอระดับการศึกษาของบัณฑิต
9. Tag 610 = ลงชื่อสถานศึกษาที่เป็นเจ้าของวิทยานิพนธ์ ตามด้วยชื่อย่อปริญญาของวิทยานิพนธ์
10. Tag 700 = เพิ่มชื่อเจ้าวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ และชื่อคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
11. Tag 710 = ทำรายการให้กับชื่อสถานศึกษาที่เป็นเจ้าของวิทยานิพนธ์ตามด้วยสาขาวิชาของวิทยานิพนธ์

ฝึกปฏิบัติงานลงรายการและวิเคราะห์หมวดหมู่วิทยานิพนธ์ภาษาไทย/อังกฤษ